Wednesday, January 20, 2016

มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน – กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย – กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) – กัณฑ์มหาพน
-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) –กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาอ่านเพิ่มเติม

Wednesday, January 13, 2016

มงคลสูตรคำฉันท์

หน่วยการเรียนรู้ที่7
เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์
ความเป็นมา
    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11
เรื่องย่อ

   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุทอ่านเพิ่มเติม

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์อ่านเพิ่มเติม
          


เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน

สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน

หัวใจชายหนุ่ม

บทที่๕
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 .หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0มีนาคม พ.. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ..ไว้                                    

 ๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ พ่อประเสริฐเพื่อนรักอ่านเพิ่มเติม